การวางไข่และชีววิทยาของไข่เต่าทะเล
เมื่อเต่าทะเลพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะเดินทางไปสู่แหล่งผสมพันธุ์ซึ่งเชื่อว่าอยู่ไม่ไกลจากแหล่งวางไข่ พ่อแม่เต่าทะเลจะอยู่ร่วมกันและผสมพันธุ์ โดยแม่เต่าทะเลหนึ่งตัวอาจผสมกับเต่าตัวผู้หลายตัว และเช่นเดียวกันเต่าทะเลตัวผู้จะผสมกับตัวเมียหลายตัว แม่เต่าจะสามารถเก็บน้ำเชื้อไว้เพื่อผสมกับไข่แดงเมื่อพร้อม โดยไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์ใหม่ทุกครั้งหลังวางไข่ แม่เต่าทะเลจะพัฒนาเซลไข่แดงซึ่งเรียกว่า Follicle จำนวนร้อยกว่าใบจนโตเป็นไข่แดง และเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ไข่แดงจะเคลื่อนสู่ท่อรังไข่ และเมื่อไข่ได้รับการผสมจากน้ำเชื้อแล้ว จะสร้างไข่ขาวหุ้มและพัฒนาเปลือกหุ้มไข่และพร้อมที่จะวางไข่ได้ ในช่วงนี้ถ้าผ่าท้องเต่าทะเลดู จะพบไข่เต่าทะเลชัดที่พร้อมที่จะวางไข่ในท่อฝักไข่ นอกจากนั้นยังพบไข่เต่าทะเลที่ยังเป็นไข่แดง ที่ไม่มีเปลือกขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายไข่ในท้องไก่ จำนวนหลายร้อยฟอง ซึ่งจะเจริญมาทดแทนไข่ที่แม่เต่าทะเลวางไปแล้ว ในชุดต่อไปในช่วงฤดูเดียวกัน
พฤติกรรมการวางไข่เต่าทะเล
ปกติเต่าทะเลจะขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายที่เงียบสงบในช่วงเวลากลางคืน ส่วนมากจะขึ้นมาวางไข่ ในช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุดหรือช่วงที่พระจันทร์กำลังขึ้น โดยแม่เต่าจะคลานขึ้นมาจากทะเล ขึ้นมาบนหาดทรายบริเวณที่สูงกว่าแนวที่น้ำขึ้นสูงสุด เมื่อแม่เต่าเลือกทำเลที่เหมาะสมได้แล้วก็จะทำการขุดหลุมทราย ลักษณะการขุดหลุมทรายโดยใช้ขาหลังขุดและกอบทรายขึ้นมาทิ้งสลับข้างซ้ายขวา ความลึกของหลุมไข่ประมาณ 30-50 เซนติเมตรสำหรับเต่ากระ เต่าตนุ และเต่าหญ้า และลึกประมาณ 60-80 เซนติเมตร สำหรับเต่ามะเฟือง เมื่อแม่เต่าทะเลขุดหลุมได้ลึกตามต้องการแล้ว ก็จะทำการคว้านทรายก้นหลุม ให้ส่วนก้นหลุมกว้างขึ้นลักษณะหลุม จึงมีลักษณะปากหลุมแคบแต่ก้นหลุมกว้างคล้ายหม้อแขก เมื่อแม่เต่าขุดหลุมได้ขนาดตามที่ต้องการแล้ว ก็จะปล่อยไข่ลงหลุม โดยการปล่อยไข่ออกจากท่อไข่ครั้งละ 1-3 ฟอง และหยุดและปล่อยสลับกันไป แม่เต่าจะวางไข่เรื่อย ๆ จนหมดใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที จำนวนไข่แต่ละครั้งที่แม่เต่าวางไข่ประมาณ 70-150 ฟอง สำหรับเต่ากระ เต่าตนุ เต่าหญ้า และ 60-130 ฟองสำหรับเต่ามะเฟือง ขนาดของไข่เต่าทะเลมีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ยกเว้นไข่เต่ามะเฟืองจะมีขนาดใหญ่กว่ามาก คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5.5 เซนติเมตร
เมื่อแม่เต่าวางไข่เสร็จแล้วก็จะทำการกลบหลุมทราย โดยใช้ขาหลังกวาดทรายและกดทรายให้ยุบลงปิดหลุมไข่จนเต็ม (เต่าหญ้าจะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งคือ จะทำการตบหลุมไข่ให้แน่นโดยใช้ขาหน้ายกตัวขึ้นและใช้กระดองหน้าอกตบลงบนพื้นทราย ทำสลับกันซ้ายขวาหลาย ๆ ครั้ง) จากนั้นจึงทำการเกลี่ยทรายบริเวณที่วางไข่เป็นวงกว้าง เพื่ออำพลางบริเวณหลุมไข่ที่แท้จริง เมื่อเสร็จกรรมวิธีวางไข่แล้วแม่เต่าก็จะคลานลงสู่ทะเลไป โดยไม่กลับมาดูแลไข่เต่าอีกเลย แม่เต่าตัวหนึ่งจะขึ้นมาวางไข่ปีละ 1-3 ครั้ง โดยห่างกันประมาณ 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเต่ามะเฟือง จะทิ้งช่วงห่างกันประมาณ 1 เดือน ถึง 40 วัน (Schulz, 1975)
ไข่เต่าทะเลจะฟักตัวโดยอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์ และความชื้นที่เหมาะสมใต้พื้นทราย สำหรับประเทศไทย อุณหภูมิของหลุมไข่เต่าใต้ทรายอยู่ในช่วง 25-34 องศาเซนเซียส (Chantrapornsyl, 1992a; 1994) ตัวอ่อนในไข่เต่าทะเล จะเริ่มเจริญ แบ่งเซลและเริ่มยึดเกาะติดกับเยื่อเปลือกไข่บริเวณส่วนบนของไข่เต่า ในช่วงประมาณ 6-12 ชั่วโมง หลังจากที่แม่เต่าวางไข่แล้วซึ่งสังเกตุได้จากเปลือกไข่บริเวณบน เริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น โดยเริ่มเป็นจุดด้านบน และจะเพิ่มวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อใช้เวลาเพาะฟักนานขึ้น ในช่วงนี้ถ้ามีการเคลื่อนย้ายหรือ พลิกหมุนไข่เต่า จะทำให้ตัวอ่อนหลุดออกจากที่ยึดเกาะและตายในที่สุด ดังนั้นถ้ามีความจำเป็น ในการเคลื่อนย้ายไข่เต่าเพื่อการเพาะฟัก ช่วงเวลาที่ปลอดภัยที่สุดต้องอยู่ในเวลา 3-6 ชั่วโมงหลังจากที่แม่เต่าวางไข่ ในกรณีที่พบเต่าทะเลขึ้นวางไข่เกินกว่า 6 ชั่วโมง การเคลื่อนย้ายไข่เต่าทะเลเพื่อการเพาะฟัก ต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยเคลื่อนย้ายไข่เต่าในตำแหน่งจุดบนอยู่ตำแหน่งเดิมตลอดเวลา เพื่อมิให้ตัวอ่อนกระทบ กระเทือนหรือหลุดจากที่ยึดเกาะและเสียชีวิต เมื่อตัวอ่อนเจริญได้ 12 วัน จะพัฒนาส่วนหัวโต ลูกตาเห็นได้ชัดเจน หัวใจและอวัยวะภายในเริ่มชัดเจน เมื่ออายุ 15 วัน ส่วนของระยางค์เริ่มยื่นออกแต่ยังไม่เป็นรูปขา หางยาว กระดูกสันหลังเริ่มปรากฏชัดขึ้น เมืออายุ 25 วัน เริ่มปรากฏการแบ่งเกล็ดบนกระดอง ขาหน้าขาหลังเห็นได้ชัดเจน หางค่อนข้างยาว เมื่ออายุได้ 30 วัน ส่วนหางหดสั้นลง เกล็ดบนกระดองชัดเจนและเริ่มมีสีเข้ม อวัยวะทุกส่วนครบถ้วนแต่ลักษณะบางนิ่ม อายุ 40 วัน ทุกอย่างเจริญครบถ้วนสีสันเหมือนลูกเต่าแรกเกิดทุกอย่าง เพียงแต่ขนาดเล็กกว่า (จาก Chantrapornsyl 1992b)
เมื่อแม่เต่าวางไข่เสร็จแล้วก็จะทำการกลบหลุมทราย โดยใช้ขาหลังกวาดทรายและกดทรายให้ยุบลงปิดหลุมไข่จนเต็ม (เต่าหญ้าจะมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งคือ จะทำการตบหลุมไข่ให้แน่นโดยใช้ขาหน้ายกตัวขึ้นและใช้กระดองหน้าอกตบลงบนพื้นทราย ทำสลับกันซ้ายขวาหลาย ๆ ครั้ง) จากนั้นจึงทำการเกลี่ยทรายบริเวณที่วางไข่เป็นวงกว้าง เพื่ออำพลางบริเวณหลุมไข่ที่แท้จริง เมื่อเสร็จกรรมวิธีวางไข่แล้วแม่เต่าก็จะคลานลงสู่ทะเลไป โดยไม่กลับมาดูแลไข่เต่าอีกเลย แม่เต่าตัวหนึ่งจะขึ้นมาวางไข่ปีละ 1-3 ครั้ง โดยห่างกันประมาณ 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเต่ามะเฟือง จะทิ้งช่วงห่างกันประมาณ 1 เดือน ถึง 40 วัน (Schulz, 1975)
ไข่เต่าทะเลจะฟักตัวโดยอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์ และความชื้นที่เหมาะสมใต้พื้นทราย สำหรับประเทศไทย อุณหภูมิของหลุมไข่เต่าใต้ทรายอยู่ในช่วง 25-34 องศาเซนเซียส (Chantrapornsyl, 1992a; 1994) ตัวอ่อนในไข่เต่าทะเล จะเริ่มเจริญ แบ่งเซลและเริ่มยึดเกาะติดกับเยื่อเปลือกไข่บริเวณส่วนบนของไข่เต่า ในช่วงประมาณ 6-12 ชั่วโมง หลังจากที่แม่เต่าวางไข่แล้วซึ่งสังเกตุได้จากเปลือกไข่บริเวณบน เริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น โดยเริ่มเป็นจุดด้านบน และจะเพิ่มวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อใช้เวลาเพาะฟักนานขึ้น ในช่วงนี้ถ้ามีการเคลื่อนย้ายหรือ พลิกหมุนไข่เต่า จะทำให้ตัวอ่อนหลุดออกจากที่ยึดเกาะและตายในที่สุด ดังนั้นถ้ามีความจำเป็น ในการเคลื่อนย้ายไข่เต่าเพื่อการเพาะฟัก ช่วงเวลาที่ปลอดภัยที่สุดต้องอยู่ในเวลา 3-6 ชั่วโมงหลังจากที่แม่เต่าวางไข่ ในกรณีที่พบเต่าทะเลขึ้นวางไข่เกินกว่า 6 ชั่วโมง การเคลื่อนย้ายไข่เต่าทะเลเพื่อการเพาะฟัก ต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยเคลื่อนย้ายไข่เต่าในตำแหน่งจุดบนอยู่ตำแหน่งเดิมตลอดเวลา เพื่อมิให้ตัวอ่อนกระทบ กระเทือนหรือหลุดจากที่ยึดเกาะและเสียชีวิต เมื่อตัวอ่อนเจริญได้ 12 วัน จะพัฒนาส่วนหัวโต ลูกตาเห็นได้ชัดเจน หัวใจและอวัยวะภายในเริ่มชัดเจน เมื่ออายุ 15 วัน ส่วนของระยางค์เริ่มยื่นออกแต่ยังไม่เป็นรูปขา หางยาว กระดูกสันหลังเริ่มปรากฏชัดขึ้น เมืออายุ 25 วัน เริ่มปรากฏการแบ่งเกล็ดบนกระดอง ขาหน้าขาหลังเห็นได้ชัดเจน หางค่อนข้างยาว เมื่ออายุได้ 30 วัน ส่วนหางหดสั้นลง เกล็ดบนกระดองชัดเจนและเริ่มมีสีเข้ม อวัยวะทุกส่วนครบถ้วนแต่ลักษณะบางนิ่ม อายุ 40 วัน ทุกอย่างเจริญครบถ้วนสีสันเหมือนลูกเต่าแรกเกิดทุกอย่าง เพียงแต่ขนาดเล็กกว่า (จาก Chantrapornsyl 1992b)
อุณหภูมิกับการเพาะฟักไข่เต่าทะเล
การเกิดเพศผู้และเพศเมียของลูกเต่าทะเลที่เกิด ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในหลุมฟักไข่เต่า โดยลูกเต่าทะเลจะเกิดเป็นตัวผู้มากเมื่อไข่เต่าทะเลเพาะฟักในที่อุณหภูมิต่ำ และตัวเมียมากเมื่อเพาะฟักในที่อุณหภูมิสูง
จากการทดลองของ Yntema และ Mrosovsky ทำการเพาะฟักไข่เต่าทะเลชนิดเต่าหัวฆ้อน (Caretta caretta) ในที่ที่ควบคุมอุณหภูมิ พบว่าไข่เต่าทะเลที่เพาะฟักในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 28oC ลูกเต่า ทะเลที่เกิดจะเป็นเพศผู้ทั้งหมด และที่อุณหภูมิ สูงกว่า 32oC ลูกเต่าที่เกิดจะเป็นเพศเมียหมด โดยที่อุณหภูมิประมาณ 30oC ลูกเต่าที่เกิดจะมีอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมีย ประมาณ 50% รูปที่ 10. (จาก Mrosovsky, 1983) อุณหภูมิที่การเพาะฟักไข่เต่า ที่ให้อัตราการเกิดของเพศผู้ และเพศเมีย 50% นี้เรียกว่า Pivotal Temperature ซึ่งจะแตกต่างกันในเต่าทะเลแต่ละชนิด และแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ รายงานของ Mrosovsky (1992) Pivotal Temperature ของเต่ากระทำการทดลองที่ Antigua ประมาณ 29.2oC (การทดลองทำในห้องปฎิบัติการที่อุณหภูมิคงที่)
จากการทดลองของ Yntema และ Mrosovsky ทำการเพาะฟักไข่เต่าทะเลชนิดเต่าหัวฆ้อน (Caretta caretta) ในที่ที่ควบคุมอุณหภูมิ พบว่าไข่เต่าทะเลที่เพาะฟักในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 28oC ลูกเต่า ทะเลที่เกิดจะเป็นเพศผู้ทั้งหมด และที่อุณหภูมิ สูงกว่า 32oC ลูกเต่าที่เกิดจะเป็นเพศเมียหมด โดยที่อุณหภูมิประมาณ 30oC ลูกเต่าที่เกิดจะมีอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมีย ประมาณ 50% รูปที่ 10. (จาก Mrosovsky, 1983) อุณหภูมิที่การเพาะฟักไข่เต่า ที่ให้อัตราการเกิดของเพศผู้ และเพศเมีย 50% นี้เรียกว่า Pivotal Temperature ซึ่งจะแตกต่างกันในเต่าทะเลแต่ละชนิด และแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ รายงานของ Mrosovsky (1992) Pivotal Temperature ของเต่ากระทำการทดลองที่ Antigua ประมาณ 29.2oC (การทดลองทำในห้องปฎิบัติการที่อุณหภูมิคงที่)
ลูกเต่าทะเลแรกเกิด
ไข่เต่าทะเลจะฟักตัวอยู่ประมาณ 50-55 วัน ก็จะเกิดเป็นตัว (60-65 วันสำหรับไข่เต่ามะเฟือง) เมื่อลูกเต่าเกิดเป็นตัวแล้วจะโผล่ขึ้นจากหลุมทรายโดยเจาะเปลือกไข่ออกมา ซึ่งลูกเต่าแรกเกิดจะมีจงอยปากแหลมไว้เจาะเปลือกไข่ เมื่อลูกเต่าทะเลเจาะเปลือกไข่ออกมาแล้วจะทำการขยับตัวพร้อมกันในหลุมใต้ทราย โดยการขยับตัวพร้อมกันของลูกเต่าทะเลนี้ จะทำให้เปลือกไข่ถูกกดยุบตัวลงทำให้เกิดช่องว่างใน หลุมทรายทำให้ทรายเบื้องบนยุบตัวลงมาเป็นหลุม และลูกเต่าก็จะขยับตัวเองเคลื่อนตัวขึ้นสู่เบื้องบนเรื่อยๆ จากนั้นจะรอจนถึงกลางคืนจึงจะคลานขึ้นมาจากหลุมพร้อมๆกันทั้งหมด ซึ่งในธรรมชาติ อัตราการเกิดเป็นตัวของลูกเต่าประมาณ 80-90% ลูก เต่าที่เกิดเมื่อโผล่ขึ้นมาแล้วก็จะกระจาย คลานมุ่งสู่ทะเลทันที เมื่อลูกเต่าถึงน้ำทะเลก็จะว่ายน้ำได้ทันที จะว่ายน้ำมุ่งสู่ทะเลลึกต่อเนื่องกัน 3-5 วัน โดยไม่หยุดพัก ในระยะนี้ลูกเต่าจะใช้ไข่แดงที่ยังมีสะสมอยู่ในตัวเป็นอาหาร เมื่ออาหารสะสมหมดจึงหยุดพักลอยตัวและหาอาหารกิน โดยอาศัยกับกอพืชหรือสาหร่ายที่ลอยในทะเล หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ล่องลอยในทะเล ซึ่งในการเดินทางของลูกเต่าทะเลเชื่อว่าจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ติดไปกับกอวัสดุซึ่งใช้เป็นที่หลบภัยและแหล่งอาหาร และจะเข้ามาหากินตามชายฝั่งเมื่อมีขนาดโตขึ้น คำนวนจากอายุก็ประมาณ 1-2 ปีขึ้นไป ลูกเต่าแรกเกิดทั่วไป จะมีขนาดความยาว กระดองประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร (Chantrapornsyl, 1992) โดยลูกเต่ามะเฟืองแรกเกิดความยาวกระดองประมาณ 6 ซม.
การเจริญเติบโตของเต่าทะเลในธรรมชาติยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัด จากการศึกษาการเจริญเติบโตของเต่าทะเลชนิดเต่าหญ้า และเต่ากระในบ่อเลี้ยง พบว่าเต่ากระสามารถเจริญเติบโตเร็วกว่าเต่าหญ้า คือสามารถโตได้ถึง 8 กิโลกรัม ในขณะที่เต่าหญ้ามีน้ำหนักเฉลี่ย 4.5 กิโลกรัม ในระยะเวลา 22 เดือน (อุ่นจิต, 2528) เต่าทะเลใช้เวลาเจริญเติบโตจนสามารถแพร่พันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 8-12 ปี น้ำหนัก 35-45 กิโลกรัม (จากพ่อแม่พันธุ์เต่าทะเลที่เลี้ยงในบ่อเลี้ยง, Chantrapornsyl, 1994) แต่จากรายงานการสำรวจเต่าทะเลในธรรมชาติ มีรายงานว่าเต่าตนุของประเทศออสเตรเลีย โตถึงวัยเจริญพันธุ์ใช้เวลา 20-25 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดอัตราการเจริญเติบโตของเต่าทะเลแต่ละตัว เต่าทะเลตัวผู้จะมีลักษณะเด่นคือมีหางยาว ซึ่งแท้จริงแล้วจะเป็นอวัยวะที่ใช้ในการผสมพันธุ์
เนื่องจากแหล่งวางไข่เต่าทะเลแต่ละชนิดจะมีแหล่งจำเพาะ ซึ่งเชื่อกันว่าลูกเต่าทะเลสามารถจดจำ แหล่งกำเนิดได้ทันทีที่เกิดและคลานลงสู่ทะเล โดยภายในช่องจมูกและประสาทตอนหน้า (Olfactory) ของเต่าทะเลจะมีประสาทที่ไวต่อการรับกลิ่นหรือสารเคมีมาก ประสาทสัมผัสนี้จะรับรู้ถึงคุณสมบัติทางเคมีของสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น และจะบันทึกความทรงจำสภาพแวดล้อมทางเคมีของแหล่งกำเนิดนี้ไว้ เมื่อเต่าทะเลเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะหาทางเดินทางกลับมาวางไข่แพร่พันธุ์ในแหล่งเดิม แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า ความทรงจำต่อแหล่งกำเนิดของลูกเต่าทะเล เกิดในขณะที่กำลังดันตัวโผล่จากหลุมทราย หรือว่าในทันทีที่ลงถึงน้ำทะเลโดยเกิดขึ้นพร้อมกับการว่ายน้ำอย่างเต็มที่ มุ่งสู่ทะเลลึก ซึ่งเป็นลักษณะการว่ายน้ำอย่างคลุ้มคลั่ง (Frenzy swimming) อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 3-5 วัน จึงหยุดว่ายน้ำปกติพร้อมเสาะหาอาหาร ตามกอสวะที่ล่องลอยในทะเล ลักษณะการว่ายน้ำแบบนี้เป็นสัญชาติญาณในการเอาตัวรอดอย่างหนึ่ง เพราะการที่ลูกเต่าว่ายน้ำออกสู่ทะเลเปิดยิ่งห่างฝั่งเท่าไร อัตรายจากศัตรูก็จะลดน้อยลง นอกจากนั้นการว่ายน้ำมาก ๆ จะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรงเพื่อใช้ชีวิตผจญภัยในธรรมชาติ
ลูกเต่าทะเลจะอาศัยตามกอสาหร่ายหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ล่องลอยในทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่าง ๆ เมื่อเติบโตขึ้นประมาณ 1-3 ปี ลูกเต่าจะเริ่มเดินทางเข้าสู่ชายฝั่ง สู่แหล่งอาหารและแหล่งอาศัยต่อไป
การเจริญเติบโตของเต่าทะเลในธรรมชาติยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัด จากการศึกษาการเจริญเติบโตของเต่าทะเลชนิดเต่าหญ้า และเต่ากระในบ่อเลี้ยง พบว่าเต่ากระสามารถเจริญเติบโตเร็วกว่าเต่าหญ้า คือสามารถโตได้ถึง 8 กิโลกรัม ในขณะที่เต่าหญ้ามีน้ำหนักเฉลี่ย 4.5 กิโลกรัม ในระยะเวลา 22 เดือน (อุ่นจิต, 2528) เต่าทะเลใช้เวลาเจริญเติบโตจนสามารถแพร่พันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 8-12 ปี น้ำหนัก 35-45 กิโลกรัม (จากพ่อแม่พันธุ์เต่าทะเลที่เลี้ยงในบ่อเลี้ยง, Chantrapornsyl, 1994) แต่จากรายงานการสำรวจเต่าทะเลในธรรมชาติ มีรายงานว่าเต่าตนุของประเทศออสเตรเลีย โตถึงวัยเจริญพันธุ์ใช้เวลา 20-25 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดอัตราการเจริญเติบโตของเต่าทะเลแต่ละตัว เต่าทะเลตัวผู้จะมีลักษณะเด่นคือมีหางยาว ซึ่งแท้จริงแล้วจะเป็นอวัยวะที่ใช้ในการผสมพันธุ์
เนื่องจากแหล่งวางไข่เต่าทะเลแต่ละชนิดจะมีแหล่งจำเพาะ ซึ่งเชื่อกันว่าลูกเต่าทะเลสามารถจดจำ แหล่งกำเนิดได้ทันทีที่เกิดและคลานลงสู่ทะเล โดยภายในช่องจมูกและประสาทตอนหน้า (Olfactory) ของเต่าทะเลจะมีประสาทที่ไวต่อการรับกลิ่นหรือสารเคมีมาก ประสาทสัมผัสนี้จะรับรู้ถึงคุณสมบัติทางเคมีของสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น และจะบันทึกความทรงจำสภาพแวดล้อมทางเคมีของแหล่งกำเนิดนี้ไว้ เมื่อเต่าทะเลเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะหาทางเดินทางกลับมาวางไข่แพร่พันธุ์ในแหล่งเดิม แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า ความทรงจำต่อแหล่งกำเนิดของลูกเต่าทะเล เกิดในขณะที่กำลังดันตัวโผล่จากหลุมทราย หรือว่าในทันทีที่ลงถึงน้ำทะเลโดยเกิดขึ้นพร้อมกับการว่ายน้ำอย่างเต็มที่ มุ่งสู่ทะเลลึก ซึ่งเป็นลักษณะการว่ายน้ำอย่างคลุ้มคลั่ง (Frenzy swimming) อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 3-5 วัน จึงหยุดว่ายน้ำปกติพร้อมเสาะหาอาหาร ตามกอสวะที่ล่องลอยในทะเล ลักษณะการว่ายน้ำแบบนี้เป็นสัญชาติญาณในการเอาตัวรอดอย่างหนึ่ง เพราะการที่ลูกเต่าว่ายน้ำออกสู่ทะเลเปิดยิ่งห่างฝั่งเท่าไร อัตรายจากศัตรูก็จะลดน้อยลง นอกจากนั้นการว่ายน้ำมาก ๆ จะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรงเพื่อใช้ชีวิตผจญภัยในธรรมชาติ
ลูกเต่าทะเลจะอาศัยตามกอสาหร่ายหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ล่องลอยในทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่าง ๆ เมื่อเติบโตขึ้นประมาณ 1-3 ปี ลูกเต่าจะเริ่มเดินทางเข้าสู่ชายฝั่ง สู่แหล่งอาหารและแหล่งอาศัยต่อไป
การเดินทางและแหล่งอาหารเต่าทะเล
เนื่องจากเต่าทะเลมีแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหาอาหาร และแหล่งวางไข่แพร่พันธุ์ที่ประจำและแน่นอน ดังนั้นเต่าทะเลจึงมีการเดินทางโยกย้ายในแต่ละแห่ง ตามเวลาและฤดูกาล ซึ่งระยะทางของแหล่งต่างๆ ใกล้ หรือไกลขึ้นอยู่กับชนิดและตัวเต่าทะเลแต่ละตัว ในประเทศไทยได้มีการศึกษาบ้าง โดยการศึกษาการเดินทางย้ายถิ่นของเต่าทะเล โดยใช้เทคนิคเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม โดยความร่วมมือและช่วยเหลือจากนักวิจัยและงบประมาณมหาวิยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ทำการศึกษาเต่าทะเลชนิดเต่าตนุ ศึกษาทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ข้อมูลในเบื้องต้นเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ เต่าทะเลของไทยมีการเดินทางไปสู่แหล่งหาอาหารที่ห่างไกล หลายตัวเดินทางไปแหล่งที่อยู่อาศัยนอกเขตน่านน้ำไทย กระจัดกระจายไปหลายทิศทาง เช่น บางตัวเดินทางไปหากินถึงประเทศฟิลิปปินส์ ตัวหนึ่งเดินทางไปอยู่บริเวณเกาะรีดัง ในประเทศมาเลเซีย อีกตัวหนึ่งเดินทางไปอยูในเขตประเทศเวียดนาม (Charuchinda, 2001) ส่วนการศึกษาเต่าทะเลทางฝั่งทะเลอันดามัน เนื่องจากงบประมาณจำกัดจึงศึกษาเพียง 3 ตัว เป็นเต่าตนุทั้ง 3 ตัว ตัวแรกดำเนินการที่สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล พบว่าเต่าทะเลดินทางไปแหล่งอาหารบริเวณจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นบริเวณแนวหญ้าทะเล เครื่องรับสัญญาณได้เพียง 12 วัน และสัญญาณขาดหายไปบริเวณใต้เกาะลันตา ตัวที่ 2 ทำการติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมกับแม่เต่าทะเล ที่ขึ้นวางไข่ที่เกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา เมื่อแม่เต่าวางไข่เสร็จก็เดินทางไปอาศัยในแหล่งหญ้าทะเล บริเวณเหนือเกาะระ หมู่เกาะพระทอง แม่เต่าอยู่บริเวณนี้เป็นเวลา 10 วัน จากนั้นเดินทางกลับไปวางไข่บริเวณเดิม ที่เกาะสิมิลัน และเมื่อวางไข่เสร็จก็เดินกลับมาในทิศทางเดิม และเดินทางขึ้นเหนือไปทางจังหวัดระนอง ส่วนตัวสุดท้ายศึกษาแม่เต่าทะเลที่วางไข่ที่เกาะสิมิลันเช่นกัน แม่เต่าตัวนี้เดินทางไปไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย (Sakamoto et al., 2001) เป็นระยะทางถึง 876 กิโลเมตร เต่าทะเลจะเดินทางกลับมาเมื่อถึงเวลาวางไข่แพร่พันธุ์ ซึ่งข้อมูลสอดคล้องกับการศึกษาในหลายประเทศ เช่นการศึกษาเต่าทะเลชนิดเต่าตนุ (Chelonia mydas) ที่ขึ้นวางไข่ บริเวณ Raine Island ทางเหนือของประเทศ Australia มากกว่า 50% เดินทางไปอาศัยอยู่ที่ประเทศ Papau New Guinae จะกลับมาเฉพาะช่วงผสมพันธุ์และวางไข่เท่านั้น เช่นเดียวกับเต่าหัวฆ้อน (Caretta caretta) ซี่งมีแหล่งวางไข่ประจำที่บริเวณ Capricorn Island ทาง ตะวันออกของ Australia นอกจากนั้น มีรายงานของเต่ามะเฟือง (Dermochelys coreacea) จากแหล่งวางไข่รัฐ Terungganu ประเทศ Malaysia มีแหล่งหาอาหารอยู่ที่ประเทศ Philippines (จากราย งานของ Dr. Limpus, 1993)
จะเห็นได้ว่าเต่าทะเลโดยเฉพาะเต่าตนุมีการเดินทางโยกย้ายถิ่นในระยะทางไกล จึงจัดเป็นทรัพยากรร่วมในระหว่างประเทศภูมิภาค และต้องมีความรับผิดชอบร่วมแม้ในระดับนานาชาติ ดังนั้นในเรื่องของการอนุรักษ์เต่าทะเลถ้าจะให้ได้ผลเต็มที่ จะต้องมีการร่วมมือกันในระหว่างประเทศ หรืออย่างน้อยต้องมีการประสานงานกันในระดับภูมิภาค โดยให้มีการดำเนินการอนุรักษ์ไปในแนวทางเดียวกันให้สอดคล้องกันกับสภาพของท้องถิ่น
จะเห็นได้ว่าเต่าทะเลโดยเฉพาะเต่าตนุมีการเดินทางโยกย้ายถิ่นในระยะทางไกล จึงจัดเป็นทรัพยากรร่วมในระหว่างประเทศภูมิภาค และต้องมีความรับผิดชอบร่วมแม้ในระดับนานาชาติ ดังนั้นในเรื่องของการอนุรักษ์เต่าทะเลถ้าจะให้ได้ผลเต็มที่ จะต้องมีการร่วมมือกันในระหว่างประเทศ หรืออย่างน้อยต้องมีการประสานงานกันในระดับภูมิภาค โดยให้มีการดำเนินการอนุรักษ์ไปในแนวทางเดียวกันให้สอดคล้องกันกับสภาพของท้องถิ่น
สาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลลดลง
ปัจจุบันเต่าทะเลลดลงจนมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า สาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลลดลงมีสาเหตุ สำคัญ ๆ พอสรุปได้ดังนี้
1. อัตราการรอดของลูกเต่าทะเลเองในธรรมชาติต่ำมาก และใช้ระยะเวลานานนับ 10 กว่าปีที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์
2. การลักลอบเก็บไข่เต่าทะเล เนื่องจากค่านิยมในการบริโภคไข่เต่าทะเลของนักท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณความต้องการไข่เต่าทะเลสูง ราคาไข่เต่าทะเลจึงสูง การลักลอบเก็บไข่เต่าเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายจึงยังเป็นปัญหาใหญ่
3. การติดเครื่องมือประมงทั้งที่ไม่เจตนาและโดยตั้งใจ เช่นทำการประมงอวนลาก, อวนลอย และเบ็ดราว บริเวณชายฝั่งหน้าแหล่งวางไข่เต่าทะเล หรือ แหล่งหาอาหารของเต่าทะเล โดยเฉพาะในช่วงฤดูการวางไข่เต่าทะเล ซึ่งเครื่องมือทำการประมงเหล่านี้ เป็นตัวการโดยตรง ที่ทำลายพันธุ์เต่าทะเลทั้งที่เจตนาและไม่ได้เจตนา ซึ่งเต่าทะเลเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอดเมื่อติดอวน หรือ เบ็ดอยู่ใต้น้ำนาน ๆ ก็จะจมน้ำตายได้ นอกจากนั้นชาวประมงบางกลุ่มทำการดักจับเต่าทะเลโดยเจตนา เพื่อนำเนื้อไปบริโภคหรือฆ่าเพื่อเอาไข่ในท้อง
1. อัตราการรอดของลูกเต่าทะเลเองในธรรมชาติต่ำมาก และใช้ระยะเวลานานนับ 10 กว่าปีที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์
2. การลักลอบเก็บไข่เต่าทะเล เนื่องจากค่านิยมในการบริโภคไข่เต่าทะเลของนักท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณความต้องการไข่เต่าทะเลสูง ราคาไข่เต่าทะเลจึงสูง การลักลอบเก็บไข่เต่าเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายจึงยังเป็นปัญหาใหญ่
3. การติดเครื่องมือประมงทั้งที่ไม่เจตนาและโดยตั้งใจ เช่นทำการประมงอวนลาก, อวนลอย และเบ็ดราว บริเวณชายฝั่งหน้าแหล่งวางไข่เต่าทะเล หรือ แหล่งหาอาหารของเต่าทะเล โดยเฉพาะในช่วงฤดูการวางไข่เต่าทะเล ซึ่งเครื่องมือทำการประมงเหล่านี้ เป็นตัวการโดยตรง ที่ทำลายพันธุ์เต่าทะเลทั้งที่เจตนาและไม่ได้เจตนา ซึ่งเต่าทะเลเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอดเมื่อติดอวน หรือ เบ็ดอยู่ใต้น้ำนาน ๆ ก็จะจมน้ำตายได้ นอกจากนั้นชาวประมงบางกลุ่มทำการดักจับเต่าทะเลโดยเจตนา เพื่อนำเนื้อไปบริโภคหรือฆ่าเพื่อเอาไข่ในท้อง
4. การบุกรุกทำลายแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของเต่าทะเล โดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ จึงมีการบุกรุกสร้างที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพความเหมาะสมของแหล่งวางไข่เต่าทะเลเสียไป ปัจจุบันแหล่งที่เหมาะสมสำหรับวางไข่เต่าทะเลเหลือน้อยมาก
5. สภาพแวดล้อมชายฝั่งเสื่อมโทรม เต่าทะเลส่วนใหญ่อาศัยตามแนวชายฝั่ง (ยกเว้นเต่ามะเฟืองซึ่งใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเลเปิด) ดังนั้นสภาพชายฝั่งเสื่อมโทรมจากการทำการประมงที่ผิดวิธีก็ดี จากการถ่ายเทของเสียสู่ทะเลก็ดี ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้สภาพแหล่งอาหารและแหล่งอาศัยของเต่าทะเลเสียสภาพไป เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าทะเลลดลง
5. สภาพแวดล้อมชายฝั่งเสื่อมโทรม เต่าทะเลส่วนใหญ่อาศัยตามแนวชายฝั่ง (ยกเว้นเต่ามะเฟืองซึ่งใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเลเปิด) ดังนั้นสภาพชายฝั่งเสื่อมโทรมจากการทำการประมงที่ผิดวิธีก็ดี จากการถ่ายเทของเสียสู่ทะเลก็ดี ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้สภาพแหล่งอาหารและแหล่งอาศัยของเต่าทะเลเสียสภาพไป เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่าทะเลลดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น