Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เพลงฉ่อย

เพลงฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมือง ที่ไม่ทราบต้นตอว่าเกิดจากจังหวัดอะไร เป็นการละเล่น
เพลงพื้นเมืองที่แพร่หลายมากที่สุดเพลงหนึ่ง มีคนร้องเล่นกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีเครื่อง
ดนตรีประกอบการร้องนั้น มีแต่การปรบมือเป็นการให้ประกอบจังหวะอย่างเดียว แต่ส่วน
ภายหลังเขาเอา "กรับ" มาตีด้วย การแต่งตัวนั้น ชายหญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อคอ
ไทย คอกลมกระดุม 3 เม็ด มีผ้าขาวม้าเคียนพุง ส่วนหญิงใส่เสื้อสบาย ๆ แต่มีสไบเฉียง 
ทุกครั้งและขาดมิได้ เวลาเขียนคิ้วใช้ผงถ่านกากมะพร้าว


     ประวัติ
เพลงฉ่อย มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เพลงไอ้เป๋ เนื่องจากพ่อเพลงฉ่อย ยุคแรกชื่อ ตาเป๋ มี ยาย
มา เป็นภรรยา เริ่มแรกเพลงฉ่อย หรือ เพลงเป๋ เป็นที่นิยมในแถบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 
และ จังหวัดใกล้เคียง ประมาณก่อนยุค พ.ศ. 2437 เป็นต้นมา ส่วนครูเพลงฉ่อย ยุคแรก
เริ่มก็มี ครูเปลี่ยน - ครูเป๋ - ครูฉิม - ครูศรี - ครูบุญมา - ครูบุญมี ครูเพลงเหล่านี้มีแค่ชื่อ 
และ ตำนานส่วนประวัติไม่มีเลย เพลงฉ่อย นี้ปรับปรุงและดัดแปลงมาจาก เพลงโคราช - 
เพลงเรือ และเพลงปรบไก่ เป็นต้น ก็สาเหตุเนื่องจาก เวลาปรบมือเป็นจังหวะเพลง
ปรบไก่ ร้องบทไหว้ครูและเกริ่นอย่างเพลงโคราช ใช้กลอนก็ใช้คล้ายกับเพลงเรือ แต่อย่างไรเพลงฉ่อย ก็น่าจะอยู่ในยุคต้นสมัยรัชกาลที่ 5

โคลงของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ..มีว่าดังนี้..

บางคนเล่นเรื่องร้อง ขับขาน 
แพนขลุ่ยซอประสาน แอ่วชู้ 
อย่างต่ำขับขอทาน โทนฉิ่ง กรับนา 
ริเล่นตามตนรู้ ดอกสร้อยเพลงสวรรค์ 
ปรบไก่ครึ่งท่อนทั้ง สักวา 
ร้องยักลำนานา ปลอบพ้อ 
แก้โต้ตอบไปมา ไม่สุด สิ้นเอย 
ออดแอดอ้อยอิ่งจ้อ จากแล้วพายตาม 

นอกจากนี้แล้วเพลงฉ่อย ยังมีชื่ออื่นอีก "ฝ่ายเหนือ" อาจหมายถึงจังหวัดทางล่างเช่น 
จังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ - จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น

ส่วนคำว่า "เพลงตะขาบ" (ต้นฉบับเดิมใช้ ข.ขวด) คนเพลงเก่า ๆ เรียกเพลง..วง.. เพราะ
ของเดิมยืนเป็นวง เล่นกับลานดิน เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีเวที ดั่งกับปัจจุบันนี้ ส่วนบ้างคนก็
เรียกว่า "เพลงฉ่า" เพราะเวลารับเพลง รับว่า เอ่ชา เอ๊ช้า ชาฉ่าชา หนอยแม่ เลยเรียกติด
กัน จนปัจุบันคนก็ยังเอามาร้อง เล่นกันส่วนมากเป็นท่อนนี้ ชาวโพหัก อำเภอบางแพ 
จังหวัดราชบุรี ก็เรียกศัพย์บัญญัติแปลก ๆ พิสดารอีกว่า "เพลงทอดมัน"

รวมอายุของบทเพลงฉ่อยแล้ว อายุไม่น่าเกิน 126 ปี
เอกลักษณ์เพลงฉ่อยบางส่วน
ทางจังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ รับเพลงว่า เอ่ชา เอชา เอ๊ชา ฉ่าชา
ส่วนทาง จังหวัดอยุธยา - จังหวัดอ่างทอง - จังหวัดสุพรรณบุรี รับเพลงว่า เอ่ชา ชา ชาฉ่าชา
ส่วนทางใต้ จังหวัดกรุงเทพมหานคร - จังหวัดราชบุรี รับเพลงว่า เอ่ชา ชา ชาฉ่าชา หนอยแม่

     ยกตัวอย่างเพลงฉ่อย
เพลง กับข้าวเพชฌฆาต 
ขับร้องโดย ขวัญจิต ศรีประจันต์ ( ศิลปินแห่งชาติ )
คำร้อง - ทำนอง จิ๋ว พิจิตร
ดัดแปลงมาจากเพลงฉ่อยประยุกต์ ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
วันนี้เป็นงานวันเกิด กินเลี้ยงกันเถิดสนุกกันดี น้องทำอาหารต้องการเลี้ยงพี่ กับข้าววันนี้อร่อยถึงใจ ... ( ดนตรี )
เอ๋ย...เรื่องฝีมือทำกับข้าวใครไม่เท่าฉัน คนเขาเลื่องลือกันทั้งเหนือใต้ 
วันนี้รวมกลุ่ม กันทั้งหนุ่มสาว ทั้งอาหารหวานคาว ทำไว้ 
ไม่ต้องลงขันกินกันเถิด วันนี้เป็นงานวันเกิดหนอไม่เป็นไร 
ขอเชิญลิ้มรสเข้ามาทดลอง ว่าฝีมือของน้องเด็ดแค่ไหน 
ผัดเผ็ดแมวดำต้มยำช้าง เฮ้ยแกงจืดเนื้อค่างกับกอไผ่ 
ฉู่ฉี่คางคกจิ้งจกปิ้ง ทั้งตุ๊กแกผัดขิงลิงยัดไส้ 
ลูกปืนแกงส้มรสกลมกล่อม เกาเหลาลูกบอมบ์ใส่หอมหัวใหญ่ 
ช้อนผัดพะแนงชะแลงเปรี้ยวหวาน กระบองทอดมัน หัวขวานชุบไข่ 
ซุปไข่ ใส่ลูกระเบิดใส่ใบบัวบก สะระหมั่นมีดพก ห่อหมกปืนใหญ่ 
ของหวานก็มีรสดีเด่น นั่นคืออีโต้แช่เย็นเสียวจนแสบไส้ 
ตะพดหวานกรอบจอบแช่อิ่ม ถ้าไม่เชื่อก็ชิมจะติดใจ 
ทั้งต้นตาลเชื่อม ต้นกล้วยฉาบ แกงบวชอีดาบฉันก็ทำได้ 
มะพร้าวหรือก็ใส่ กันไปทั้งเปลือก กินแล้วตาเหลือกพากันหลงใหล 
เชิญตามสบาย เหอะ ๆ หายห่วง กินแล้วท้องร่วงกันทุกราย ( เอ่ชา ) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น