Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

'พายุลูกเห็บ' มหันตภัยจากฟากฟ้า



การเกิดลูกเห็บ


    ลูกเห็บเกิดจากที่สูงมากจากพื้นโลกกระแสลมแรงพัดพาเม็ดฝนขึ้นไปในกลุ่มเมฆที่ฟ้าคะนองในที่สูง

อากาศ เย็นมาก ทำให้เม็ดฝนแข็งตัวยิ่งขึ้นไปสูง ยังมีเกร็ดหิมะเข้ามาเกาะ ม็ดน้ำแข็งครั้นตกลงมาอีก

ส่วนล่างของกลุ่ม เมฆซึ่งเย็นน้อยกว่าด้านบน ความชื้นเข้าไปห่อหุ้มเม็ดน้ำแข็ง แล้วกระแสลมก็พัดเอา

เม็ดน้ำแข็งกลับขึ้น ไปด้าน บนของกลุ่มเมฆอีกที่อุณหภูมิความชื้นรอบๆเม็ดน้ำแข็งพอกเพิ่มเข้าไปอีก

ชั้นหนึ่ง เม็ด น้ำแข็งก็โตขึ้นอีกนิด    เม็ดน้ำแข็งลอยสูง แล้วตกลงมาวนซ้ำไปมาหลายครั้งในกลุ่มเมฆในขณะเดียวกัน เม็ดน้ำแข็งสะสม

ความชื้น ที่ด้านล่าง ซึ่งต่อไปจะแข็งตัวในที่สูงเย็นด้วยกระบวนการ เช่นนี้เม็ดน้ำแข็งก็ใหญ่ขึ้นทุกทีเมื่อ

ใดที่มันใหญ่กว่า กระแสลมพายุจะพยุงมันไว้ได้ มัน ก็จะ ตกจากอากาศลงยังพื้นดิน เรียกว่า ลูกเห็บ ถ้า

เราทุบก้อนลูกเห็บโตๆที่ เพิ่งตกถึงพื้นให้แตกครึ่ง เราจะเห็นภายในลักษณะเป็นวงชั้นน้ำแข็ง ซึ่งแสดง

ถึงการก่อเกิดลูกเห็บ




   แต่ไม่ว่าลูกเห็บจะเกิดจริงๆ ยังไง เวลาหล่นตุ้บลงมาก็ทำให้หลังคาสังกะสีทะลุ ต้นไม้หักเสียหาย หรือ

คนหัว ร้างข้างแตกได้สบายๆ ในประเทศไทยลูกเห็บมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือน

พฤษภาคม โดย เฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

   สถิติของลูกเห็บที่หนักที่สุดในโลกนั้น ตกที่ เมืองคอฟฟีย์วิลล์ (Coffeyville) รัฐแคนซัส

 ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยหนักถึง 770 กรัม (หรือ 1.7 ปอนด์) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14.5 

เซนติเมตร (5.7 นิ้ว) ส่วนลูก เห็บที่ขนาดใหญ่ที่สุดนั้นตกที่ ออโรรา (Aurora) รัฐเนบราสกา ในวันที่ 22 

มิถุนายน พ.ศ. 2546 ซึ่งมีเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 17.8 เซนติเมตร(7 นิ้ว) แต่มีน้ำหนักน้อยกว่าอาจเนื่องมา

จากมีบางส่วนแตกหลุดไปในระหว่างตก กระทบบ้าน

11 แนวคิด ป้องกันภัย พายุและลูกเห็บถล่ม

1. ติดตั้งสายล่อฟ้าในอาคารสูง เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า

2. หมั่นติดตามข่าวสภาวะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่เสมอ

3. ตรวจสอบความแข็งแรงของบ้านเรือนอยู่เสมอ เพื่อป้องกันลมแรงและลูกเห็บที่อาจตกลงมา

    ทะลุหลังคาได้

4. หากพบว่าส่วนใดไม่แข็งแรง ควรจะซ่อมแซมในทันที

5. หากพบต้นไม้ เสาไฟฟ้า ฯลฯ ที่อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่โดยด่วน

6. เตรียมการป้องกันสัตว์เลี้ยงให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย

7. หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง

8. จัดเตรียมอุปกรณ์ยามฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย กล่องพยาบาล วิทยุพกพา เป็นต้น

9. หลังพายุสงบ หากพบต้นไม้โค่นล้มให้ตัดทิ้ง หรือถ้าพบสาธารณูปโภคอื่น ๆ มีการเสียหาย

    ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

10. หากอยู่ในที่โล่งแจ้งพยายามทำให้ร่างกายติดกับพื้นดินมากที่สุด

11. หากขับรถแล้วพบลูกเห็บตก ให้จอดรถเข้าข้างทางอย่าวิ่งฝ่าลูกเห็บ





นายธนารักษ์   เสือเพ็ชร์  ม.5/6  เลขที่ 26



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น