Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมืองหลวงประเทศไทย


กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง และเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย[2] รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้แบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร
กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด ซึ่งคำว่ากรุงเทพมหานคร นั้น ยังใช้เป็นคำเรียกสำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
เนื่องจากประเทศไทยมีบทบาทด้านวัฒนธรรม สมัยนิยม และการบันเทิงมากขึ้นในการเมืองโลกมหาวิทยาลัยลัฟบะระ (Loughborough University) จึงจัดกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครโลกระดับอัลฟาลบ[3] กรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆและวัดต่าง ๆ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 10 ล้านคนในแต่ละปี นับเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุดรองแต่เพียงกรุงลอนดอนเท่านั้น[4]
ในสมัยอาณาจักรอยุธยา บางกอก (กรุงเทพมหานคร) ยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ฝั่งธนบุรี จึงได้ชื่อว่า กรุงธนบุรี และในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ คือ ฝั่งพระนคร จึงได้ชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์
คำว่า กรุงเทพมหานคร แปลว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร" มาจากชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์[5] มีความหมายว่า พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้[6]
โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) ข้างต้น

การปกครอง

ตราประจำจังหวัดพระนคร
กรุงเทพมหานครมีลักษณะเป็นเขตการปกครองพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง การดำเนินงานมีสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงทำงานร่วมด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน คือ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร และปลัดกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ เจริญรัตน์ ชูติกาญจน์

[แก้]การปกครอง 50 เขต

50 เขตทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร
  1. เขตพระนคร
  2. เขตดุสิต
  3. เขตหนองจอก
  4. เขตบางรัก
  5. เขตบางเขน
  6. เขตบางกะปิ
  7. เขตปทุมวัน
  8. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
  9. เขตพระโขนง
  10. เขตมีนบุรี
  11. เขตลาดกระบัง
  12. เขตยานนาวา
  13. เขตสัมพันธวงศ์
  14. เขตพญาไท
  15. เขตธนบุรี
  16. เขตบางกอกใหญ่
  17. เขตห้วยขวาง
  18. เขตคลองสาน
  19. เขตตลิ่งชัน
  20. เขตบางกอกน้อย
  21. เขตบางขุนเทียน
  22. เขตภาษีเจริญ
  23. เขตหนองแขม
  24. เขตราษฎร์บูรณะ
  25. เขตบางพลัด
  1. เขตดินแดง
  2. เขตบึงกุ่ม
  3. เขตสาทร
  4. เขตบางซื่อ
  5. เขตจตุจักร
  6. เขตบางคอแหลม
  7. เขตประเวศ
  8. เขตคลองเตย
  9. เขตสวนหลวง
  10. เขตจอมทอง
  11. เขตดอนเมือง
  12. เขตราชเทวี
  13. เขตลาดพร้าว
  14. เขตวัฒนา
  15. เขตบางแค
  16. เขตหลักสี่
  17. เขตสายไหม
  18. เขตคันนายาว
  19. เขตสะพานสูง
  20. เขตวังทองหลาง
  21. เขตคลองสามวา
  22. เขตบางนา
  23. เขตทวีวัฒนา
  24. เขตทุ่งครุ
  25. เขตบางบอน
 แผนที่


สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง
พระบรมมหาราชวังจากหอประชุมกองทัพเรือ
กรุงเทพมหานครเป็นจุดท่องเที่ยวจุดหนึ่ง โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระที่นั่งอนันตสมาคม ตึกใบหยก 2 (ตึกระฟ้าสูงอันดับที่ 44 ของโลก[26]) นอกจากนี้แหล่งช้อปปิ้งต่าง ๆ ได้แก่ สยามพารากอน ตลาดนัดจตุจักร มาบุญครอง เซ็นทรัลเวิลด์สยามสแควร์ ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ เยาวราช พระรามสาม ยูเนี่ยนมอล สยามดิสคัฟเวอร์รี่ และแหล่งร้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ถนนข้าวสาร พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ นอกจากนี้ในกรุงเทพมหานครยังมีพื้นที่สีเขียวมากมาย สำหรับพักผ่อนหย่อนใจรวมทั้งใช้ออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ ซึ่งได้แก่ สวนหลวง ร.9 อุทยานเบญจสิริสวนลุมพินี สวนจตุจักร เป็นต้น
ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณถนนราชดำเนินและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะมีการจัดแต่งประดับไฟเพื่อเฉลิมฉลองอย่างสวยงาม นอกจากนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การค้า การลงทุน และการปกครองในทุก ๆ ด้านของประเทศ จึงส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกอีกด้วย
จากเว็บไซต์ยูโรมอนิเตอร์ ใน พ.ศ. 2549 กรุงเทพฯ มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดในโลกเป็นอันดับสองรองจากลอนดอน[27] และกรุงเทพมหานครได้รับเลือกให้เป็นเมืองน่าเที่ยวอันดับหนึ่งของโลกประจำปี พ.ศ. 2553 และ 2554 ตามการจัดอันดับของนิตยสารทราเวลแอนด์เลเชอร์[28



ปัญหาในปัจจุบัน

[แก้]การจราจรติดขัด

ปัญหาการจราจรติดตัดในกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมาจากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีแล้ว ปัจจัยเร่งให้กรุงเทพมหานครมีปัญหาการจราจรมากขึ้นเนื่องจากเป็นเมืองที่มีผู้คนจากต่างจังหวัดเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก[35] ทุกครั้งเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์มักพบว่ามีผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมากซึ่งปัญหานี้ไม่ได้แตกต่างจากกรุงปักกิ่งเท่าใดนัก[36][37] ปัญหาการจราจรติดขัดยังนำไปสู่ปัญหามลพิษทางอากาศและมลภาวะทางเสียง[38] ในปี พ.ศ. 2551 มีถนนที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิน 10 ไมโครเมตร (ค่ามาตรฐาน) จำนวน 10 สายในกรุงเทพมหานคร และมี 2 สาย ที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานทุกวัน กล่าวคือเกิน 70 เดซิเบล และมีถนนที่มีการจราจรหนาแน่นเกินมาตราฐาน 3 สาย อีกทั้งวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศได้เป็นปัจจัยเร่งให้ปัญหานี้เพิ่มมากขึ้น[39]

[แก้]ทัศนียภาพ

ปัญหาทัศนียภาพเป็นปัญหาหนึ่งในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างจากเมืองอื่น เนื่องจากในกรุงเทพมหานครมีป้ายผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก ประภากร วทานยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทสถาปนิก 49 จำกัดอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามกล่าวว่า ผลกระเทือนจากป้ายผิดกฎหมายทั้งหลายนี้ มีตั้งแต่ระดับเบา จนถึงรุนแรง เช่น บดบังความงามทางทัศนียภาพ ไปจนถึงถูกลมพัดพังถล่มทับบ้านเรือนประชาชน ในกรณีนี้มีให้เห็นกันเป็นประจำ โดยที่ยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาแก้ไขปรับปรุงปัญหาดังกล่าวได้[40]

[แก้]อาชญากรรม

ปัญหาอาชญากรรมในกรุงเทพมหานครยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยในรายงานของสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ได้ทำการรวบรวมวิจัยปัญหานี้ตลอดปี พ.ศ. 2550 พบว่าเหยื่ออาชญากรรมที่เป็นสมาชิกครัวเรือนมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 52,410 รายนั้น ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมต่อทรัพย์สิน ร้อยละ 96.1 เหยื่ออาชญากรรมมีอายุระหว่าง 45 - 59 ปี มากที่สุดคือ ร้อยละ 33.2 เหยื่ออาชญากรรมเป็นเพศชาย ร้อยละ 46.4 และหญิง ร้อยละ 53.6 มีสัญชาติไทย ร้อยละ 99.6 เชื้อชาติไทย ร้อยละ 99.0 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 94.1 มีการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษาเป็นจำนวนมากที่สุดคือร้อยละ 31.2 เหยื่ออาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร รายงานว่าอาชญากรรมที่ประสบในภาพรวมเกิดเหตุในช่วงเวลา 24.01–03.00 น. มากที่สุดถึงร้อยละ 21.1 สถานที่เกิดเหตุอาชญากรรมทั้งหมดในกรุงเทพมหานครพบว่า ส่วนใหญ่เหยื่อระบุว่า เกิดเหตุขึ้นบริเวณบ้านที่พักอาศัยของเหยื่ออาชญากรรมคิดเป็นร้อยละ 74.8[41]

นายธนารักษ์  เสือเพ็ชร์ ม.5/6 เลขที่ 26



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น